วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แกงผักเชียงดาไข่มดส้ม

แกงผักเชียงดาไข่มดส้ม


                  แกงผักเชียงดา หรือแกงผักเชียง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวานบ้าน และแกงผักหวานป่า แต่ไม่ใส่วุ้นเส้น นิยมใส่ปลาย่าง หรือปลาแห้ง บางสูตรแกงร่วมกับผักเสี้ยวและผักชะอม หรือร่วมกับผักชะอมอย่างเดียว แกงผักเชียงดาเป็นพืชไม้เถาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จะพบในจังหวัดภาคเหนือจะมีรสชาติ ขมเล็กน้อย ชาวบ้านทางภาคเหนือจะนำผักเชียงดามาประกอบอาหาร โดยใช้ใบ ยอดอ่อนและดอก นำแกงกับปลาแห้ง จะมีรสชาติ ขมและมันเล็กน้อย การแยกเอาไข่มดส้มสมัยก่อนจะเอากระด้งหรือถาดมาตากแดดให้ร้อนเพื่อแม่มดจะได้หนีร้อนและทิ้งไข่ไว้ แต่สมัยนี้จะเอาผงแป้งมันโรยบนกระด้ง เพื่อให้ไข่มดลื่นและแยกไข่ออกจากรัง/แม่มดส้มได้ง่าย 

ส่วนผสม 1. ผักเชียงดา 2. ปลาแห้ง 3. มะเขือเทศลูกเล็ก 4. ไข่มดส้ม
เครื่องแกง 1. พริกแกง 2. กระเทียม 3. หอมแดง 4. กะปิ 5. เกลือ

วิธีการเตรียมและปรุงอาหาร : 
1.โขลกพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม เกลือ กะปิ ให้ละเอียด
2.ต้มน้ำให้เดือด ปลาแห้ง และใส่เครื่องแกง ใส่เห็ด ต้มไปสักพักให้เห็ดสุก แล้วใส่มะเขือเทศ จากนั้นใส่ผักเชียงดา ผักชะอม ปรุงรสตามชอบใจ

ประโยชน์  :  สรรพคุณทางยา ทางเหนือใช้ใบสดตำให้ละเอียด พอกกระหม่อมเพื่อลดไข้ ลดอาการเป็นหวัด ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน เป็นพืชที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูงและจากการศึกษาพบว่าว่าผักเชียงดาในรูปแบบของผักสดที่ไม่ผ่านขบวนการแปรรูปมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีและและป้องกันการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงและการเสียหายของดีเอ็นเอสูงสุด ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 มีปริมาณของสารประกอบฟินอลิกสูงสุด และสารสกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟินอลิกต่ำสุด ยังมีปริมาณวิตามินที่มีคุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วย ข้อมูลคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดาด้วยการเตรียมแบบต่างๆในงานวิจัยนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค ในการพิจารณาเลือกบริโภคแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ คุณค่าทางโภชนาการ ผักเชียงดา 100 กรัม ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 1.5 กรัม คารฺโบไฮเดรต 8.6 กรัม แคลเซียม 78 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม เหล็ก 2.3 มิลลิกรัม น้ำ 82.9 กรัม เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม ไทอะซิน 0.12 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม วิตามินเอรวม 984 ไมโครกรัม วิตามินซี 153 มิลลิกรัม


กุ้งทอดกระเทียม


กุ้งทอดกระเทียม เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมการรับประทานและการทำของคนจีน ไม่มีหลักฐานว่าคนไทยเริ่มรับประทานตั้งแต่เมื่อใด แต่จะมีอยู่ในสำรับอาหารชาววัง ชนชั้นสูงอยู่เนืองๆ กรรมวิธีในการทำขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละครัว ปัจจุบันมีการพัฒนาการทำกุ้งทอดกระเทียมโดยการผัดกระเทียมกับรากผักชี ใส่น้ำตาล น้ำปลา แล้วเอากุ้งลงไปผัด บางแห่งใส่ขิงและต้มหอมซอย ทำให้เหมือนกุ้งผัดกระเทียม เนื้อกระเทียมจะไม่กรอบและอมน้ำมัน กุ้งทอดกระเทียมในตำรับชาววังจะนิยมใช้กุ้งก้ามกราม เพราะเนื้อจะนุ่มหนา เวลานำไปทอดจะหดตัวน้อย โรยเกลือพริกไทย ตั้งน้ำมันที่เจียวกระเทียม ในกระทะค่อยๆ วางตัวกุ้งลงในกระทะ ไม่ต้องกลับตัวกุ้ง ใช้ตะหลิวตักน้ำมันค่อยๆ ราดบนตัวกุ้งๆ จะสุก เมื่อสุกพอสมควรจึงกลับด้าน เนื้อกุ้งจะตึกนอกนุ่มใน ตักขึ้นวางเรียงใส่ภาชนะที่มีผักกาดหอมและแตงกวาจัดวางไว้ด้านข้าง แล้วโรยกระเทียมไว้ด้านบนตัวกุ้งจึงโรยด้วยยอดผักชี

วิธีการเตรียมและปรุงอาหาร   :
1. เอากุ้งมาล้างให้สะอาด แกะเปลือกออก ให้เหลือหาง ผ่าหลังดึงเส้นดำออก
2. นำกุ้งที่ได้ไปคลุกเคล้ากับแป้งมันทิ้งไว้ซักซัก 20 นาที แล้วจึงล้างออก ใส่กระชอนพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ 3. จากนั้นนำกุ้งใส่ในชาม เติมผงปรุงรสลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วหมักทิ้งไว้ซักครู่
4. นำกระทะขึ้นตั้งไฟ ใส่เนยลงไป พอเนยละลายและร้อนได้ที่แล้ว ใส่กุ้งที่หมักไว้ ลงไปทอดจนสุกเหลือง จึงช้อนขึ้นมา จัดใส่จานสำหรับเสิรฟ
5. ดูเนยในกระทะว่าเหลือมากเกินไปหรือเปล่า ถ้ามากไปให้ตักออกบ้าง ให้เหลือแค่พอที่จะเจียวกระเทียม จากนั้นใส่กระเทียมสับลงเจียวจนหอม ใส่ซีอิ๊วขาว (ถ้าใครชอบเผ็ดก็ใส่พริกไทยป่นลงไปนิดหน่อยก็กลายเป็นกุ้งทอดกระเทียมพริกไทยได้) เคล้าผสมจนเข้ากันดี ตักราดลงบนจาน ที่มีกุ้งทอดอยู่แล้ว